ข้อมูลเทศบาล

ประวัติความเป็นมา

     เดิมทีชาวบ้านเรียกกันว่า “ทุ่งหลง” เพราะความกว้างใหญ่ของพื้นที่และท้องทุ่ง ต่อมาจึงได้มีการเรียกชื่อตำบลนี้ใหม่ คือ ทุ่งหลวง เมื่อได้มีการจัดตั้งเป็นตำบลในปี พ.ศ. 2442 ปัจจุบันทุ่งหลวงมีอายุมากกว่า 100 ปี ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อ พ.ศ.2538 ต่อมาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2550
 

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์  (Vision)
“ตำบลน่าอยู่ มุ่งสู่เกษตรผสมผสาน ยึดหลักธรรมาภิบาล น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง
พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน”
 
ยุทธศาสตร์
     ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่  1   การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
     ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่  2   การพัฒนาด้านการวางแผนส่งเสริมความเข้มแข็งทางการเกษตร
                                          ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การลงทุนและการท่องเที่ยว
     ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่  3   การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต
     ยุทธศาสตร์ที่การพัฒนา  4   การพัฒนาด้านการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่  5   การพัฒนาด้านการบริการประชาชนและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
 
พันธกิจ   (Mission)
     พันธกิจที่   1   ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  สาธารณูปโภค  สาธารณูปการ
                         ด้านแหล่งน้ำให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
     พันธกิจที่   2   ส่งเสริมและสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ
                         เพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน
     พันธกิจที่   3   ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคนและเสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็ง  
     พันธกิจที่   4   ปรับปรุงและพัฒนาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
     พันธกิจที่   5   จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
     พันธกิจที่   6   ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมภิบาลและ
                         การมีส่วนร่วมของประชาชน
     พันธกิจที่   7   สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา
     พันธกิจที่   8   รักษาศิลปวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมให้คงอยู่และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก
                         ของคนทั่วไป
     พันธกิจที่   9   ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพของประชาชนในตำบลให้ดีขึ้น
     พันธกิจที่  10  ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร
 
เป้าประสงค์
  1. ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและโครงการพื้นฐาน การคมนาคมมีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย
  2. ประชาชนมีน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค – บริโภคและการเกษตรอย่างเพียงพอทั่วถึง
  3. ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพียงพอสำหรับเลี้ยงครอบครัว
  4. เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารพิษ
  5. แหล่งท่องเที่ยวมีการพัฒนาปรับปรุงและฟื้นฟูให้น่าเที่ยว
  6. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ห่างไกลจากยาเสพติด  ชุมชนเข้มแข็ง        สามารถพึ่งตนเองได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  7. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและมีความสงบเรียบร้อยในชุมชน
  8. การศึกษาเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
  9. เยาวชนและประชาชนมคุณธรรม จริยธรรม  และร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟู  ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวันธรรมอันดีงาม
  10. เยาวชนและประชาชนรักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีและได้รับการบริการ              ทางสาธารณสุขอย่างทั่วถึง
  11. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกิดความสมดุลอย่างยั่งยืน
  12. การบริหารงานที่ดีมีประสิทธิภาพเกิดความโปร่งใส มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
  13. ประชาชนมีช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องและทันเหตุการณ์
  14. ประชาชนมีความตระหนักในสถาบันชาติ  ศาสนา  และพระมหากษัตริย์
ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านหนองไร่ 313 532 570 1,102 คน
หมู่ที่ 2 บ้านหนองข่อย 417 563 604 1,167 คน
หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งหลวง 323 461 478 939 คน
หมู่ 4 บ้านพุคาย 379 659 648 1,307 คน
หมู่ที่ 5 บ้านหนองโสน 213 364 355 719 คน
หมู่ที่ 6 บ้านหนองไผ่ 253 386 358 744 คน
หมู่ที่ 7 บ้านหนองน้ำใส 297 538 532 1,070 คน
หมู่ที่ 8 บ้านเขาพระเอก 346 511 501 1,012 คน
หมู่ที่ 9 บ้านหนองกอก 213 348 345 693 คน
หมู่ที่ 10 บ้านหนองตาจอน 175 312 330 642 คน
หมู่ที่ 11 บ้านหนองวัวดำ 320 528 534 1,062 คน
หมู่ที่ 12 บ้านพุยาง 150 228 226 454 คน
หมู่ที่ 13 บ้านเขากลอย 84 153 145 298 คน
หมู่ที่ 14 บ้านหนองเด่น (ไซโล) 234 497 479 976 คน
หมู่ที่ 15 บ้านเหล่ามะละกอ 248 456 487 943 คน
หมู่ที่ 16 บ้านเนิน 179 283 307 590 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ

ด้านกายภาพ
     ตำบลทุ่งหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอปากท่อ ระยะทางห่างจาก
ตัวจังหวัดราชบุรี ประมาณ 18 กิโลเมตรจากตัวอำเภอปากท่อ ประมาณ 20 กิโลเมตรโดยห่างจาก
ถนนเพชรเกษม ประมาณ 8 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 67‚663.75 ไร่ หรือประมาณ 108.26
ตารางกิโลเมตร ตำบลทุ่งหลวงมีหมู่บ้านรวม 16 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 13,522 คน เป็นคนไทย
ที่มีเชื้อสายจากทางภาคเหนือของไทยในสมัยโบราณเรียกว่าชาวลาวยวนและชาวไทยทรงดำ
นอกจากนี้ยังมีชาวจังหวัดเพชรบุรี ชาวจีนมาจากจังหวัดนครปฐม และอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สภาพดินตำบลทุ่งหลวงที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ
ทำเกษตร ทำไร่ ทำนา และปลูกพืชอื่นๆ บางส่วนเป็นดินลูกรัง  มีป่าไม้ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่
ซึ่งเป็นพื้นที่ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ โดยเฉพาะในบ้านพุยาง หมู่ที่ 12
 
ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งและอาณาเขต
เทศบาลตำบลทุ่งหลวง ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อยู่ทางทิศตะวันตก
ของอำเภอปากท่อ ระยะทางประมาณ  20 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขต ดังนี้
     ทิศเหนือ             ติดต่อ    ตำบลอ่างทอง ตำบลดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี
     ทิศตะวันตก         ติดต่อ    ตำบลหนองอ่างหิน ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ
     ทิศตะวันออก       ติดต่อ    ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอปากท่อ
     ทิศใต้                ติดต่อ    ตำบลหนองกระทุ่ม ตำบลดอนทราย และตำบลห้วยยางโทน
                                         อำเภอปากท่อ
 
ลักษณะภูมิประเทศ
     ตำบลทุ่งหลวง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม และภูเขาเป็นบางส่วนเขตป่าสงวนแห่งชาติ
 
ลักษณะภูมิอากาศ
     แบ่งออกเป็น  3  ฤดูกาล  ดังต่อไปนี้
            ฤดูร้อน   ตั้งแต่เดือนมกราคม          ถึงเดือนเมษายน
            ฤดูฝน    ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม       ถึงเดือนสิงหาคม
            ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนกันยายน          ถึงเดือนธันวาคม
 
ลักษณะของดิน
     มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสลับที่เนินเขาในความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 43 เมตร ภูเขาที่สามารถนำ
หินปูนและดินลูกรัง แร่ธาตุ คือ แร่โดโลไมด์สโตน เนื่องจากพื้นที่ตำบลทุ่งหลวงมีภูเขา  เป็นพื้นที่
ลาดชันจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก เก็บกักน้ำไม่ค่อยอยู่ ไม่มีแหล่งต้นน้ำ จึงต้องอาศัยน้ำ
การกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ทุกหมู่บ้านจะมีบ่อน้ำตื้น
บ่อน้ำบาดาล และสระที่ขุดเจาะเองและส่วนราชการหน่วยงานต่างๆ
 
ลักษณะของแหล่งน้ำ
     มีลำห้วยสายหลัก 4 ลำห้วย ได้แก่ ลำห้วยพุพลับ ลำห้วยทับใต้ ลำห้วยแห้ง และลำห้วยบง
 
ลักษณะป่าไม้
     สภาพพื้นป่าบางส่วนอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ สภาพป่าคงเหลืออยู่น้อย มีป่าชุมชน
เช่น ป่าชุมชน หมู่ที่  8  บ้านเขาพระเอก
 

การเมืองการปกครอง

เขตการปกครอง 
     เทศบาลตำบลทุ่งหลวง  มี  16  หมู่บ้าน  มีผู้ปกครองตาม พรบ.กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 
 
การเลือกตั้ง
     คณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลตำบลทุ่งหลวงมาจากการเลือกตั้งรวม 2 เขต
เลือกตั้งได้จำนวน   12  คน
     ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยคณะผู้บริหาร 5 คน

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

สภาพทางเศรษฐกิจ
     ประชาชนตำบลทุ่งหลวงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเช่น ทำนา ทำไร่ผัก มีอุตสาหกรรม
ในครัวเรือนด้านหัตถกรรม อาทิ สานตะกร้าไม้ไผ่ เข่งไม้ไผ่ ค้าขาย รับจ้างทั่วไปและรับจ้าง
ตามโรงงานต่าง ๆ
 
การเกษตร
     พื้นที่ตำบลทุ่งหลวง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  โดยมีกิจกรรมการเกษตร
ที่สำคัญ  ได้แก่  ทำนา  รองลงมา  คือ ทำไร่  เลี้ยงสัตว์  รับจ้าง  นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ
ซึ่งไม่สามารถจำแนกเป็นรายหมู่บ้านได้  คือ ทำสวนผลไม้ ตามลำดับ (ข้อมูล จปฐ. ปี 2562)
 
การปศุสัตว์
     ฟาร์มสุกร                                                           จำนวน               15         แห่ง
     ฟาร์มไก่                                                             จำนวน               19         แห่ง      
 
การบริการ
     ร้านค้า                                                                จำนวน             174         แห่ง
     ปั๊มน้ำมัน และก๊าซ                                                 จำนวน                 3         แห่ง
 
การท่องเที่ยว
     ในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งหลวงไม่มีแหล่งท่องเที่ยว  แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในพื้นที่ 
เช่น  การจัดงานประเพณีต่างๆ  และส่งเสริมกิจกรรมของวัด
 
อุตสาหกรรม
     - โรงงานอุตสาหกรรม                                            จำนวน                 4        แห่ง
 
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
     - บ่อลูกรัง                                                           จำนวน                 9        แห่ง
     - โรงฆ่าสัตว์                                                        จำนวน                 1        แห่ง
     - สหกรณ์เพื่อการเกษตรกลุ่มบ้านหนองไร่                                           หมู่ที่  1
     - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต                                                           หมู่ที่  1-16
     - กลุ่มผลิตมะม่วงเพื่อส่งออก                                                            หมู่ที่  8,13
     - กลุ่มแม่บ้านเขากลอย ผลิตยาสระผมและมะม่วงแช่อิ่มปลอดสารพิษ         หมู่ที่  13
     - กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ                                                                      หมู่ที่  1,16
     - กลุ่มกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัย                                                         16  หมู่บ้าน
     - กลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์                                                                 หมู่ที่  15
     - กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี                                                             16  หมู่บ้าน
     - กองทุนแม่แผ่นดิน                                                                        หมู่ที่ 3,11,12,15
     - กองทุนที่ดิน                                                                               16 หมู่บ้าน
     - กลุ่มสวัสดิการกองบุญ                                                                   16 หมู่บ้าน
     - ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านเหล่ามะละกอ                                                    หมู่ที่ 15
     - กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านเหล่ามะละกอ                                                 หมู่ที่ 15
 
แรงงาน
     จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชากรที่มีอายุ  15 – 60  ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ  95 
เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ  73.99  ซึ่งสูงกว่ามาก  แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด
โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร  ประชากรอายุระหว่าง  25 – 50 ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงาน
นอกพื้นที่  ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในโซนที่มีโรงงานอุตสาหกรรม  บริษัท 
ห้างร้านใหญ่ๆ  เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมาก
เป็นที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรม
 
สภาพทางสังคม
 
อาชญากรรม
     เทศบาลตำบลทุ่งหลวงไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น  แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน  และทำลายทรัพย์สินของราชการ  ซึ่งเทศบาลตำบลทุ่งหลวงก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี  มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาคือจากข้อมูลที่สำรวจพบว่ามีการป้องกันอุบัติเหตุ  อาชญากรรม  วิธีการแก้
ปัญหาของเทศบาลตำบลทุ่งหลวงในปีงบประมาณ 2561 นั้นได้บรรจุโครงการติดตั้งกล้องวงจรปิด
ในแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี 2561-2564 เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ 
ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน  แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำ
คือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชน
ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก  การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน 
ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ  ผลเสียหาย  และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท 
การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ  การขอกำลังจาก  ตำรวจ  ผู้นำ  อปพร.  เพื่อระงับเหตุ  ไม่ให้เกิด
ความรุ่นแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกัน
หลายฝ่ายเป็นเรื่องที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไป
ตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้
 
ยาเสพติด
     ปัญหายาเสพติดในพื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งหลวง  จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรทุ่งหลวง
ได้แจ้งให้กับเทศบาลตำบลทุ่งหลวงทราบนั้นพบว่าในเขตเทศบาลตำบลทุ่งหลวงมีผู้ที่ติดยาเสพติด
แต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าปานกลาง เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ
ประชาชน  หน่วยงานของเทศบาลตำบลทุ่งหลวงที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหา
ของเทศบาลตำบลทุ่งหลวงสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ 
การประชาสัมพันธ์  การแจ้งเบาะแส  การฝึกอบรมให้ความรู้  ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ 
ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เทศบาลตำบลทุ่งหลวงก็ได้ให้ความร่วมมือ
มาโดยตลอด 
 
การสังคมสังเคราะห์
     เทศบาลตำบลทุ่งหลวงได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
  1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยเอดส์ 
  2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
  3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
  4. ดำเนินโครงการการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน
  5. ดำเนินการโครงการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชนทั่วไป
  6. ดำเนินโครงการสงเคราะห์ครองครัวผู้ยากไร้ที่ตกเกณฑ์ จปฐ.              
  7. ดำเนินโครงการสร้างและซ่อมที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากไร้  รายได้น้อย  ผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
  8. อุดหนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน
  9. ประสานการให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน
  10. จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ

สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

การศึกษา
โรงเรียนอาชีวศึกษา     จำนวน   1  แห่ง
     - วิทยาลัยการอาชีพปากท่อ
โรงเรียนมัธยมศึกษา     จำนวน   1  แห่ง
     - โรงเรียนวัดสันติการามวิทยา
โรงเรียนประถมศึกษา     จำนวน   8  แห่ง
     - โรงเรียนวัดสนามสุทธาวาส (พรหมประชานุกูล)
     - โรงเรียนชุมชนวัดทุ่งหลวง
     - โรงเรียนบ้านเขาพระเอก
     - โรงเรียนบ้านพุคาย
     - โรงเรียนบ้านหนองน้ำใส
     - โรงเรียนบ้านหนองไผ่
     โรงเรียนบ้านหนองวัวดำ
     - โรงเรียนวัดสันติการาม
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (เทศบาล)     จำนวน  8  แห่ง
 
การนับถือศาสนา
     ประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลทุ่งหลวง จะนับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัด/สำนักสงฆ์ 
จำนวน 13 แห่ง  ดังนี้
  1. วัดสนามสุทธาวาส                     ตั้งอยู่ที่ หมู่  1  ตำบลทุ่งหลวง
  2. วัดคุณสารหนองไร่                     ตั้งอยู่ที่ หมู่  1  ตำบลทุ่งหลวง
  3. วัดทุ่งหลวง                              ตั้งอยู่ที่ หมู่  2  ตำบลทุ่งหลวง
  4.  วัดเกตุปัญญาประชาสรรค์           ตั้งอยู่ที่ หมู่  3  ตำบลทุ่งหลวง
  5. วัดสันติการาม                           ตั้งอยู่ที่ หมู่  4  ตำบลทุ่งหลวง
  6. วัดหนองน้ำใส                           ตั้งอยู่ที่ หมู่  7  ตำบลทุ่งหลวง
  7. วัดเขาพระเอก                           ตั้งอยู่ที่ หมู่  8  ตำบลทุ่งหลวง
  8. วัดถ้ำยอดทอง                          ตั้งอยู่ที่ หมู่  8  ตำบลทุ่งหลวง
  9. วัดเขากิ่ว                                 ตั้งอยู่ที่ หมู่  8  ตำบลทุ่งหลวง
  10. วัดเขาหมอนทอง                       ตั้งอยู่ที่ หมู่ 11  ตำบลทุ่งหลวง
  11. วัดถ้ำกิเลนทอง                         ตั้งอยู่ที่ หมู่ 13  ตำบลทุ่งหลวง
  12. สำนักสงฆ์เนินทอง                     ตั้งอยู่ที่ หมู่ 11  ตำบลทุ่งหลวง
  13. สำนักสงฆ์พุยาง                         ตั้งอยู่ที่ หมู่ 12  ตำบลทุ่งหลวง
ประเพณีและงานประจำปี
     - ไทยทรงดำ       ประมาณเดือน      มีนาคม
     - ไทยวน             ประมาณเดือน      พฤษภาคม
 
ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภาษาถิ่น
     ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ จักสาน วัวเทียมเกวียน       
สานตะกร้าไม้ไผ่ เข่งไม้ไผ่
     ภาษาถิ่น  ประชาชนสาวนใหญ่พูดภาษาลาวโซ่ง ไทยวน
 
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
     ประชาชนในตำบลทุ่งหลวงได้มีสินค้าพื้นเมืองและของฝากส่วนใหญ่จะเป็น  กล้วยอบน้ำผึ้ง  ผลิตภัณฑ์จากนมแพะ  พริกแกง  มะม่วงแช่อิ่มปลอดสารพิษ  มะม่วงแช่อิ่มปลอดสารพิษ
 
 
 

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การบริการพื้นที่
การคมนาคม
     - มีถนนตัดผ่าน จำนวน 5 สาย คือ ทางหลวงหมายเลข 3337 (ห้วยชินสีห์ – ทุ่งหลวง)
ทางหลวงหมายเลข รบ 4001 (บ้านหนองวัวดำ – ตำบลอ่างหิน) ทางหลวงหมายเลข รบ 4002
(ทุ่งหลวง – อ่างหิน) ทางหลวงหมายเลข รบ 4013 (ทุ่งหลวง – หนองกระทุ่ม – ปากท่อ)
ทางหลวงหมายเลข รบ 1102 (เขาพระเอก – บ้านหนองกอก – หนองกระทุ่ม)
     - ถนนภายในหมู่บ้านทุกหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นถนนลาดยางแอสฟัสท์ติกและ
มีส่วนน้อยที่เป็นถนนลูกรัง
 
การไฟฟ้า
     - อัตราการมีและใช้ไฟฟ้า   95%  ทุกหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงครบทุกหมู่บ้าน
 
การประปา
     - ทุกหมู่บ้านมีประปาเข้าถึง 16 หมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในรับผิดชอบของเทศบาลจำนวน 7 แห่ง คือ
หมู่ที่ 2,3,7,8,9,11,16 ส่วนหมู่ที่ 1,4,5,6,10,12,13,14,15 หมู่บ้านบริหารงานเอง
 
โทรศัพท์
     - โทรศัพท์สาธารณะ                          จำนวน       20     ตู้
     - โทรศัพท์ประจำบ้าน                         จำนวน     600     แห่ง
 
ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
     - หอกระจายข่าว                      จำนวน  16 แห่ง
     - ท่ารถขนส่ง                           จำนวน  1  แห่ง  ให้บริการทุกๆ ชั่วโมง และทุกวัน           
     - การให้ใช้อินเตอร์เน็ตฟรี  ที่ ศาลาประชุมทุกหมู่บ้านและสำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งหลวง
     - เทศบาลตำบลทุ่งหลวง  มีวัสดุ ครุภัณฑ์ในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็มีบางรายการที่ยังขาดแคลน
เนื่องจากมีงบประมาณไม่เพียงพอ วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆ นั้นมีไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
เทศบาลตำบลทุ่งหลวงในการดำเนินภารกิจบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น 
แต่หากประชาชนเดือดร้อน หรือหน่วยงานอื่นเดือนร้อน ก็สามารถมายืมใช้ได้
 
ด้านสาธารณสุข
     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองไร่      ตั้งอยู่หมู่ที่     1    ตำบลทุ่งหลวง
     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งหลวง    ตั้งอยู่หมู่ที่    3    ตำบลทุ่งหลวง
     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองวัวดำ   ตั้งอยู่หมู่ที่   11   ตำบลทุ่งหลวง
     กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานตำบลทุ่งหลวง  มีจำนวน  16  แห่ง
     อัตราการมีและใช้ส้วมราด  100 %
 
 
ทรัพยากรธรรมชาติ
น้ำ
      แหล่งน้ำธรรมชาติ
          ได้แก่ ลำห้วยบง, ลำห้วยแห้ง และลำห้วยทับใต้
     แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
     - อ่างเก็บน้ำบ้านพุยาง                                   จำนวน       1      แห่ง
     - ฝาย                                                        จำนวน       9      แห่ง
     - บ่อน้ำตื้นส่วนตัว                                         จำนวน    125      แห่ง
     - ถังเก็บน้ำฝน                                              จำนวน     20      แห่ง
     - บ่อบาดาล                                                 จำนวน     18      แห่ง
     - สระน้ำ                                                      จำนวน     52      แห่ง      
     - ระบบประปาหมู่บ้าน                                      จำนวน    16       แห่ง
     - ขุมเหมืองเข้าพระเอก                                    จำนวน      1      แห่ง
     - ลำห้วยพุพลับ                                              จำนวน      1      แห่ง
 
ป่าไม้
     มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสลับที่เนินเขาในความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 43 เมตร ประกอบด้วย
สภาพเป็นเทือกเขาสูงอุดมด้วยป่าดิบป่าเบญจพรรณป่าเต็งรังและป่าไผ่ ประกอบด้วยป่าพุยาง
ป่าชุมชนบ้านเนิน
 
ภูเขา
     พื้นที่ตำบลทุ่งหลวงมีภูเขา เป็นพื้นที่ลาดชันจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ลักษณะธรณี
ของพื้นที่เป็นหินตะกอน ประกอบด้วยหินกรวดมน หินชั้น หินปูน หินดินดาน และหินทราย สภาพดิน
มีความอุดมสมบูรณ์สูง ปกคลุมไปด้วยอินทรีย์วัตถุ ดินเป็นดินร่วนปนทราย มีการดูดซึมน้ำได้อย่างดี
 
ทรัพยกรธรรมชาติที่สำคัญขอององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
     แร่โดโลไมด์สโตน(หินปูน)